เมนู

[766] กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อ
นำธุระของบุรุษไปอยู่ ย่อมทำฐานะ คือ การ
ทำความปราโมทย์ และความสุขอันนำมาซึ่ง
ความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.
[767] บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รส
แห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมดบาป.

จบ หิริชาดกที่ 3

อรรถกถาหิริชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
เศรษฐีชาวปัจจันตคามผู้เป็นสหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺตํ ดังนี้.
เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต ได้มีพิสดาร
แล้วในชาดกจบสุดท้ายแห่งนวมวรรค เอกนิบาต. แต่ในชาดกนี้ เมื่อ
คนมาบอกแก่พาราณสีเศรษฐีว่า คนของเศรษฐีชาวปัจจันตคามถูก
ชิงทรัพย์สมบัติ ไม่เป็นเจ้าของของที่เป็นของตน พากันหนีไปแล้ว
พาราณสีเศรษฐีจึงกล่าวว่า ธรรมดาคนผู้ไม่กระทำกิจที่จะพึงทำแก่
คนผู้มายังสำนักของตน ย่อมไม่ได้คนผู้กระทำตอบแทนเหมือนกัน
แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมี
เมตตา กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของ
ท่าน แต่ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า
บัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดีกว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหาย
ของเรา.
เพราะว่าบุคคลทำอย่างไร ก็พึงกล่าว
อย่างนั้น ไม่ทำอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทำให้
สมกับพูด เป็นแต่พูดอยู่ว่า เราเป็นมิตร
สหายของท่าน.
ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ. มุ่งความ
แตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่า
เป็นมิตร ส่วนผู้ใดอื่นคนอันยุให้แตกกันไม่
ได้ ไม่รังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอด-
ภัยเหมือนบุตรนอนแนบอกมารดาฉะนั้น ผู้
นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อ
นำธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายไปอยู่ ย่อมทำเหตุ

คือการทำความปราโมทย์ และความสุขอัน
นำมาซึ่งความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.
บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รส
แห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อม
เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมด

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิรินฺตรนฺตํ ได้แก่ ก้าวล่วง
ความละอาย. บทว่า วิชิคุจฺฉมนํ ได้แก่ ผู้เกลียดการเจริญเมตตา.
บทว่า ตวาหมสฺมิ ความว่า พูดแต่คำพูดอย่างเดียวเท่านั้ว่า เรา
เป็นมิตรของท่าน. บทว่า เสยฺยานิ กมฺมานิ ความว่า ผู้ไม่เอื้อ-
เฟื้อ คือไม่กระทำกรรมอันสูงสุดซึ่งสมควรแก่คำพูดว่า จักให้ จักทำ.
บทว่า เนโส มมํ ความว่า พึงรู้แจ้งบุคคลเห็นปานนั้นว่า นั่นไม่
ใช่มิตรของเรา. บทว่า ปาโมชฺชกรณํ ฐานํ ได้แก่ ทาน ศีล
ภาวนา และความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร. แต่ในที่นี้
ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะความเป็นมิตรซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. จริง
อยู่ ความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมนำซึ่งความปรา-
โมทย์ ทั้งนำมาซึ่งสรรเสริญ ท่านเรียกว่า ความสุขดังนี้ก็มี เพราะ
เป็นเหตุแห่งสุขทางกายและทางใจ ในโลกนี้และโลกหน้า. เพราะ
ฉะนั้น กุลบุตรผู้เห็นผลและอานิสงส์นี้ ชื่อว่าผู้มีผลานิสงส์ เมื่อนำ-

พาธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายทั้ง 4 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา และ
มิตรภาพ ที่ลูกผู้ชายทั้งหลายจะพึงนำพา ย่อมยังเหตุเครื่องกระทำ
ความปราโมทย์กล่าวคือมิตรภาพนี้ และสุขอันเป็นเหตุนำมาซึ่งสรร-
เสริญให้เกิด คือ ให้เจริญ ท่านแสดงว่า ไม่ทำลายมิตรภาพให้แตก
จากบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปวิเวกรสํ ได้แก่ รสแห่งกายวิเวก
จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก คือ รสแห่งความโสมนัสอันอาศัยวิเวก
เหล่านั้นเกิดขึ้น. บทว่า อุปสมสฺส จ ได้แก่ โสมนัสอันได้แล้ว
เพราะความสงบระงับกิเลส. บทว่า นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ความว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความกระวนกระวาย
ด้วยอำนาจของกิเลิสทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีบาป เพราะไม่มีกิเลส.
บทว่า ธมฺมปีติรสํ ความว่า ดื่มรสกล่าวคือธรรมปีติ ได้แก่ ปีติอัน
เกิดแต่วิมุตติ.
พระมหาสัตว์สยดสยองการเกลือกกลั้วกับปาปมิตร จึงถือเอา
ยอดแห่งเทศนา โดยให้บรรลุพระอมตมหานิพพาน ด้วยรสแห่งวิเวก
ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นเศรษฐี
ชาวปัจจันตคามนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาหิริชาดกที่ 3

4. ขัชโชปนกชาดก


ว่าด้วยเห็นหิ่งห้อยว่าเป็นไฟ


[768] ใครหนอ เมื่อไฟมีอยู่ ยังเที่ยวแสวงหา
ไฟอีก เห็นหิ่งห้อยในเวลากลางคืน ก็มา
สำคัญว่าเป็นไฟ.
[769] บุคคลนั้น เอาจุรณโคมัยและหญ้าขยี้
ให้ละเอียดโปรยลงบนหิ่งห้อย เพื่อจะให้
เกิดไฟ ก็ไม่สามารถจะให้ไฟลุกได้ ด้วย
ความสำคัญวิปริต ฉันใด.
[770] คนพาล ย่อมไม่ได้สิ่งที่ต้องประสงค์
โดยมิใช่อุบาย นมโคไม่มีที่เขาโค คนรีด
นมโคจากเขาโค ย่อมไม่ได้นม ก็ฉันนั้น.
[771] ชนทั้งหลาย ย่อมบรรลุถึงประโยชน์
ด้วยอุบายต่าง ๆ คือด้วยการข่มศัตรู และ
ด้วยการยกย่องมิตร.
[772] พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ย่อมครอบ-
ครองแผ่นดินอยู่ได้ ก็ด้วยการได้อำมาตย์ผู้